ไม่ได้ตั้งใจจะทำมือถือเปียก แต่มันเผลอทำมือถือตกน้ำหรือน้ำหกใส่มือถือก็ตาม ทีนี้อยากจะช่วยชีวิตมือถือสุดที่รักนี้เหลือเกิน วันนี้เฮียแบทพามาดูวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นเมื่อมือถือเปียกน้ำ ควรจะทำอะไรเป็นอย่างแรกนะไปดูกันเลย
สิ่งที่ควรทำ
- รีบเอาขึ้นจากน้ำทันที / เอาออกมาจากบริเวณที่มีน้ำ
- รีบปิดเครื่องให้ไวที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงการลัดวงจรหรือการช็อตภายในตัวเครื่อง
- สะบัดน้ำที่ขังอยู่ตามช่องลำโพง ช่อง Lightning ช่องไมโครโฟน และช่องหูฟังออกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- รีบหาผ้าไมโครไฟเบอร์หรือผ้าแห้งมาเช็ดตัวเครื่องภายนอก
- ถอดเท่าที่จะถอดได้ ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรี่ ซิมการ์ด สายหูฟัง หรือตั้งมือถือไว้ในแนวตั้งกรณีที่ถอดแบตเตอรี่ไม่ได้
- นำส่งร้านซ่อมมือถือหรือศูนย์บริการที่น่าเชื่อถือ
สิ่งที่ไม่ควรทำเด็ดขาด!!
- เสียบสายชาร์จเพื่อดูว่าเครื่องยังทำงานได้อยู่ไหม การเสียบสายชาร์จจะทำให้ไฟฟ้าเข้าไปในตัวเครื่อง ซึ่งจะทำให้แผงวงจรช็อตและไหม้ได้
- ข้าวสารไม่ได้ช่วยอะไร ไม่ว่าจะเป็นการนำไปแช่ค้างคืนกี่คืนก็ตาม เพราะมีโอกาสน้อยที่ข้าวสารจะดูดความชื้นหรือดูดน้ำให้ระเหยออกมา ทำให้แผงวงจรภายในยังมีความชึ้นอยู่ สิ่งสกปรกที่มากับน้ำอย่าง ตะไคร่น้ำก็จะกัดกินแผงวงจรภายในจนเครื่องเกิดความเสียหาย
- อย่าเขย่าโทรศัพท์ อาจจะทำให้น้ำในเครื่องแพร่กระจายเป็นวงกว้างขึ้น
- ห้ามเป่าลม เพราะอาจจะทำให้น้ำไหลเข้าลึกไปอีกได้
- ห้ามใช้ความร้อนกับโทรศัพท์ เช่น ใช้ไดร์ป่าผม เอาเข้าไมโครเวฟ วางตากแดด ฯลฯ
ป้องกันไว้ดีกว่าแก้
- เลือกใช้สมาร์ทโฟนกันน้ำ หรือหาเคสกันน้ำมาใส่
- หลีกเลี่ยงไม่ให้มือถืออยู่ในสถานการ์เสี่ยง เช่น เมื่ออยู่ใกล้แหล่งน้ำให้จับมือถือให้แน่น
- งดใช้มือถือในห้องน้ำ ถ้าไม่ได้มีธุระจำเป็นหรือธุระเร่งด่วน
โดยส่วนใหญ่แล้ว แม้จะมีการดูแลดีและรวดเร็วแค่ไหน หลังจากที่มือถือ สัมผัสกับน้ำ ผู้ใช้ก็มักจะพบกับปัญหาที่ตามมาอยู่เสมอ ไม่มากก็น้อย หรืออาจจะโชคร้ายถึงขั้นเสียถาวร หลายคนอาจจะต้องเผื่อใจกันเอาไว้ล่วงหน้าด้วยว่าอาจโชคไม่ดีก็เป็นได้ ดังนั้นจึงควรระวังหรือหลีกเลี่ยงไม่ให้มือถือตกน้ำหรือสัมผัสกับน้ำตั้งแต่แรก หรือหากจำเป็นต้องนำมือถือออกไปใช้ในสถานการณ์ที่เสี่ยงกับการโดนน้ำ (เช่น เล่นน้ำวันสงกรานต์) ก็ควรหาอุปกรณ์เสริมที่ออกแบบมาเพื่อกันน้ำโดยเฉพาะก็จะเป็นการดีที่สุดครับ